เมนู

บทว่า ปพฺพชึ ความว่า เข้าถึงบรรพชาในพระศาสนา ของพระ-
ศาสดา.
บทว่า ปหาย กามานิ มโนรมานิ ความว่า ละวัตถุกามที่ชื่อว่า
เป็นของรื่นรมย์ใจ เพราะทำใจของผู้ที่ยังไม่ปราศจากราคะให้ยินดี โดยความ
เป็นของน่าปรารถนาน่าใคร่เป็นต้น อธิบายว่า ละทิ้ง ฉันทราคะ อันเนื่องด้วย
วัตถุกามนั้น โดยตัดขาดด้วยพระอริยมรรค คือโดยความไม่เพ่งเล็ง. ก็คำเป็น
คาถานี้ ได้เป็นคาถาพยากรณ์พระอรหัตผลของพระเถระ โดยมุข คือ การชี้ชัด
ถึงการละกามทั้งหลาย. พระเถระนี้ เกิดสมัญญานามว่า มาณวะ ดังนี้เทียว
เพราะเหตุที่ท่าน บวชแล้วในเวลาที่ยังเป็นมาณพ ฉะนี้แล.
จบอรรถกถามาณวเถรคาถา

4. สุยามนเถรคาถา
ว่าด้วยคาถาของพระสุยามนเถระ


[211] ได้ยินว่า พระสุยามนเถระได้ภาษิตคาถานี้ไว้ อย่างนี้ว่า
ความพอใจในเบญจกามคุณ ความพยาบาท
ความง่วงเหงาหาวนอน ความฟุ้งซ่าน รำคาญใจและ
ความสงสัย ย่อมไม่มีแก่ภิกษุโดยประการทั้งปวง.

อรรถกถาสุยามนเถรคาถา


คาถาของท่านพระสุยามนเถระ เริ่มต้นว่า กามจฺฉนฺโท จ
พฺยาปาโท.
เรื่องราวของท่านเป็นอย่างไร ?
แม้พระเถระนี้ ก็มีอธิการอันกระทำไว้แล้วในพระพุทธเจ้าองค์ก่อน ๆ
สั่งสมบุญไว้ในภพนั้น ๆ เป็นอันมาก เกิดในตระกูลพราหมณ์ในธัญญวดีนคร
ในกาลของพระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงพระนามว่า วิปัสสี ในกัปที่ 91 แต่
ภัทรกัปนี้ สำเร็จการศึกษาในศิลปศาสตร์ของพราหมณ์ เป็นอาจารย์สอนมนต์
แก่พวกพราหมณ์ ก็โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงพระนามว่า วิปัสสี
เสด็จเข้าไปสู่พระนครธัญญวดี เพื่อบิณฑบาต พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่.
พราหมณ์เห็นพระผู้มีพระภาคเจ้าพร้อมด้วยภิกษุทั้งหลายก็มีจิตเลื่อมใส
นำเสด็จไปสู่เรือนของตน ตกแต่งอาสนะ ลาดเครื่องลาดคือดอกไม้บนอาสนะ
นั้น ถวายแล้ว. เมื่อพระศาสดาประทับนั่งบนอาสนะนั้นแล้ว อังคาสให้ทรง
อิ่มหนำสำราญ ด้วยอาหารอันประณีต แล้วบูชาพระศาสดาผู้เสวยเสร็จแล้ว
ด้วยดอกไม้และของหอม. พระศาสดาทรงกระทำอนุโมทนาแล้ว เสด็จหลีกไป.
ด้วยบุญกรรมนั้น เขาท่องเที่ยวไปในเทวโลก กระทำบุญทั้งหลายแล้ว
ท่องเที่ยวไป ๆ มา ๆ อยู่ ในเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย แล้วเกิดเป็นบุตร
ของพราหมณ์ คนหนึ่ง ในพระนครสาวัตถี ในพุทธุปบาทกาลนี้ เขาได้มี
นามว่า สุยามนะ. สุยามนพราหมณ์เจริญวัยแล้ว เป็นผู้ถึงฝั่งแห่งไตรเพท
เป็นผู้ประกอบไปด้วยความใคร่ครวญอย่างยิ่ง รังเกียจการซ่องเสพกามารมณ์
มีอัธยาศัยน้อมไปในฌาน ได้มีศรัทธาจิต ในคราวที่พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จ-
ไปพระนครเวสาลี บวชแล้ว บรรลุพระอรหัต ขณะจรดมีดโกนทีเดียว.
สมดังคาถาประพันธ์ที่ท่านกล่าวไว้ในอปทานว่า